วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

ด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

ความหมาย
          บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น ความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ต่อต้าน เสียงดัง พูดหยาบคายกลุ่มบุคคลผิดปกติ ชอบเก็บตัว ขาดความมั่นใจ กัดเล็บ เงียบเฉย ไม่พูด มองโลกในแง่ร้าย กลุ่มขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว งุ่มง่าม เฉื่อยชา สกปรก ขาดความรับผิดชอบ กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ชอบหนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี ต่อต้านผู้มีอำนาจ ชอบเที่ยวกลางคืน  

          1. สภาพทางชีววิทยา หมายถึง พันธุกรรม ระบบประสาท ภาวะโภชนาการและโรคภัย ไข้เจ็บบางชนิด  
          2. สภาพทางครอบครัว ที่มีความขัดแย้งรุนแรง มีสัมพันธภาพในเชิงลบ การขาดการเอาใจใส่ ขาดความอบอุ่น  
          3. สภาพพลวัตของโลกาภิวัตน์ ความสับสนในการดำเนินชีวิตในสังคม ความสับสนในวัฒนธรรม ความเติบโตทางวัตถุนิยมอย่างรวดเร็วและรุนแรง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ
สังคมได้  

ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
1. เก็บตัว หมกมุ่น เหม่อลอย
2. วิตกกังวล ลุกลี้ลุกลน
3. ไม่มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ถอยหนีสังคม
4. ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก้าวร้าว ก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง
5. ขาดความรับผิดชอบ ไม่เคารพยำเกรงผู้อื่น
6. มีนิสัยลักขโมย ฝ่าฝืนกติกา ต่อต้านสังคม
7. หนีเรียนเป็นประจำ
8. อ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อที่จะไม่ทำกิจกรรมใด ๆ

เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
        กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงานครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันและปฏิบัติตาม ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจ ปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามกฎ หากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้ว ให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมหรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียน ในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงในกระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงในภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอนที่ 3


เด็กที่มีความต้องการพิเศเด็กพิเศษ” (Special Child) หลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการ
บกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ
เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง
เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน 
การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น 
กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับ
การดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดง
ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถ
              พิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ 
              ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทย
ได้แบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต
และการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน 
เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
ทั้งนี้ เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้
พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษา
ที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2



เด็กที่มีความต้องการพิเศเด็กพิเศษ” (Special Child) หลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการ
บกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ
เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง
เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน 
การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น 
กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับ
การดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น
เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนอง
ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดง
ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถ
              พิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ 
              ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทย
ได้แบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต
และการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน 
เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
ทั้งนี้ เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้
พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษา
ที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1




สร้างข้อตกลงการเรียน
1.ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
2.มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย
3. ต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 
4.ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือในเวลาเรียน
5.งานที่มอบมายส่งตามเวลาที่กำหนด
เทอมนี้มีงานดังนี้
-พรีเซนต์งานกลุ่ม
-งานเดี่ยวหาวิจัย   + ส่งหลังสอบกลางภาค
- ทำบล็อก คะเเนน 20 คะแนน
- จิตพิสัย 20 คะแนน
   # อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละ1 แผ่นมีสีเมจิ สีไม้คนละ1กล่องให้นักศึกษาแตกมายแม็บคำ่ำว่า เด็กพิเศษ
 - อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานเด็กพิเศษจากความรู้เดิม 1 คน
 - อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานเด็กพิเศษจากอินเตอร์เน็ต 1 คน